Htmltang3

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552


วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วัดศรีเวียงชัย


พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม(พระสิขีทศพล)
พระวิหารจตุรมุขหลังนี้ ได้เริ่มลงเสาเอก เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2542 โดยมีพระเดชพระคุณพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(หลวงปู่พระครูบาวงศ์) เป็นองค์ประธาน และมีคณะศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราฃพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และคณะศิณยานุศิษย์ของพระเด๙พระคุณ พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(หลวงปู่พระครูบาวงศ์)ได้รวมน้ำใจกันสร้าง พระวิหารหลังนี้จนสำเร็จและได้ทำการยกฉัตร ในวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2545 โดยได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ สมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโน) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นองค์ประธานในการยกฉัตร ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมขนาดหน้าตัก 4 ศอก และรูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อลิงเล็ก หลวงพ่อลิงขาว ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ในสายหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เหล่าคณะศิณยานุศิษย์ในสาย ได้ระลึกถึงพระคุณความดีและพระธรรมคำสั่งสอนของท่าน เพื่อเป็นอนุสสติ และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ขออานิสงส์ที่พวกเราเหล่าลูกหลานได้ร่วมสร้างพระวิหารหลังนี้จนสำเร็จ จงเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ

วัดศรีเวียงชัย


วัดศรีเวียงชัย


เรือนไม้สัก วัดศรีดอนมูล


สวนน้อย ๆ ในวัดศรีดอนมูล


พระอุปคุต ทันใจ วัดศรีดอนมูล


วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551


วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551

วัดศรีดอนมูล


ศาลาสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง และยังเป็นที่จำพรรษาของ พระครูบาน้อย เตชปัญโญ ผู้ทรงวิทยาคมเข้มแห่งล้านนา เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศได้รับการยกย่องว่าเป็นเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งล้านนา

พิพิธภัณฑ์ชุมชน


พิพิธภัณฑ์ชุมชน จังหวัดลำพูน อยู่ด้านหลังของ พิพิธภัณฑ์หริภุญชัย มีของเก่าที่เก็บรักษาไว้ให้เด็ก ๆ ได้ชม และศึกษาถึงวิถีชีวิตในอดีต มากมายหลายอย่าง เป็นสถานที่อีกแห่งที่อยากแนะนำให้ผู้ที่มาเยือนเมืองลำพูน แวะเข้าไปชม เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่า ๆ ให้เด็ก ๆ รุ่นหลังจะได้จดจำ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551

WAT PHRA YUEN (วัดพระยืน) Lumphun



Amphoe Muang. Legend has it, that Queen Chamthewi, the first ruler of Hariphunchai, the Hariphunchai, the former name of Lamphun, ordered the temple built in 670, after she had ruled for eight years. However, some historians believe that King Amikarai of Hariphunchai built this temple in the 17th century of the Buddhist calendar (around 700 years ago). Officially named Wat Aranyikaram, the temple houses a chedi with four Buddha images in standing posture facing the four diredtions. The arched roof is topped with round- and bell- shaped ornamental finial - an architecture similar to the of Bagan in Burma and Wat Pak Sak in Chiang Rai.

อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญชัย หรือ เมืองลำพูนมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัยหลังจากที่พระนางได้รับเชิญจากพระฤาษีวาสุเทพผู้ก่อตั้งเมือง ขึ้นมาครองเมืองได้ 8 ปี จึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1213 เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสังฆเถระที่ติดตามมาจากเมืองละโว้มีชื่อว่า วัดอรัญญิการาม หรือวัดพระยืนในปัจจุบัน บางแห่งก็ว่าพระเจ้าอัมมิกราชกษัตริย์หริภุญชัยเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 สิ่งที่สำคัญภายในวัดก็คือ พระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

Lamphun

The oldest city in the Northern part of Thailand(mor than 1,300 years old)

Eminent Buddha relics, Holy "Phra Rod" amulet, Good quality Longans and Garlic, Beautiful cultural traditions, Memories of Queen Chama Devi of The Hariphunchai Kingdom.

Wat Mahawan







This temple is believed to have been built around 657 A.D. in the reign of Phranang Chammathewi. The object of interest is an image of the Buddha seated under the Naga’s hood believed to be Phra Phuttha Sikkhi or Phra Sila Dam(the Black Stone Image) taken from Lawo by Phranang Chammathewi. The image is currently known among the villagers as “Phra Rot Luang” or Phra Rot Lamphun”, which became a prototype for a famous repository of votive tablets known as “Phra Rot Mahawan


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

The Sunset


Hariphunchai had gone through six centuries with wealth; hence this attracted King Mangrai, the ruler of “Hiran Nakorn Ngen Yang” in Chiang Rai. In 1281, he invaded and burned Hariphunchai to the ground by his powerful army. King Yeeba, the last king of Hariphunchai, escaped to Khelangnakorn where his son, King berg, ruted at that moment. Later on, he moved to Nan and eventually to Sukhothai.
King Mangrai realized that Hariphunchai was too small and full of temples, so he was unable to extend the city. As a result, he moved the capital to “Wiang Cha Ware” or “Wiang Jae Jiang Kum.” (At present, the site is still unknown. Many assume that it should be in the area of Sob Ping Ling Ha near Wat Sri Boon Yun.) He later eastablished “Wiang Kumkam” and Nopburi Sri Nakornping Chiang Mai” respectively. In 1296, Chiang Mai was established as the center of Lanna.
Later, around 15 kings of Mangrai dynasty ruled Lanna. Until 1558, King Burengnong of Myanmar invaded the region. At that time, Lamphun was part of Chiang Mai so it was occupied by Myanmar for mor than 200 Years

ลอดลายไม้แกะสลัก

ไม้แกะสลักเมืองลำพูน ปรากฎให้เห็น ณ เครื่องประดับสถาปัตยกรรมของหอไตรวิหาร อุโบสถ กุฎิในส่วนของเครื่องบนหลังคา ได้แก่ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันคันทวย บัวหัวเสาซึ่งสล่า (ศิลปินหรือช่าง) ล้านนามีความสันทัดจัดเจนในการแกะไม้แบบคว้านลึก นิยมผูกลวดลายหม้อดอก หรือหม้อปรณะฆฏะที่เน้นกลีบดอกอิ่มอูมสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ชอุ่มน้ำของสังคมล้านนาหรือลายใบผักกูดและลายบัวจงกลที่สืบทอดสุนทรียศาสตร์มาจากยุคหริภุญไชย พัฒนามาเป็นลายเครือล้านนา รวมไปถึงลายเมฆตั้งเมฆไหล อันไหวพลิ้วเหนือกรอบหน้าแหนบ (หน้าบัน)
เฮือนบ่าเก่าจาวยอง หรือบ้านโบราณชาวไทลื้อ-ไทยอง เป็นสถาปัตยกรรมอีกมิติหนึ่งที่ทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ มีอัตลักษณ์เฉพาะด้วยการประดับแท่งเสาที่หน้าจั่วด้วย “สะระไน” พบมากที่ตำบลมะกอก แม่แรง อำเภอป่าซาง และตำบลต้นผึ้ง อำเภอเวียงหนองล่อง รวมไปถึงเรือนไม้ประเภท หลองข้าว (ยุ้งฉางข้าว) ต๊อมน้ำ (ที่อาบน้ำ) ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนยองในลำพูนเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา เครื่องสักการบูชาที่ใช้ภายในพระวิหาร อุโบสถได้แก่ สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียน 7 เล่ม ตุงกระด้าง (ธงที่ทำด้วยไม้) เครื่องสูงจำลอง ปราสาทจำลัง ธรรมาสน์ พระพุทธรูปไม้ปิดทองระบายสี พานขันดอก ขันแก้วทั้งสาม ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือ หนึ่งในความภูมิใจของชาวลำพูนที่ได้สืบทอดฝีมือช่างมาสู่หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก

Woodcarving of Lamphun


Woodcarving of Lamphun can be observed at a library of sacred writings, monastery, uposatha hall, and a monk’s logging. Also, on the roof top are curved finials of a gable, slopping edges of a gable, hang hong finials,pediment, roof supporter, pillar top which Lanna craftsmen were skillful in the art of deep carving. They often made Lai Mo Dok or Mo Puranakata (Thai traditional painting) which focused on large petals referring to the abundanceof Lanna society. Lai Bai Phak Kud and Lai Bua Jongkol (Thai Traditional paintings) are from Hariphunchai period. Later, these paintings were developed to Lai Khrua Lanna as well as Lai Mek Tan and Lai Mek Lai whichportray the smoothness of Thai traditional paintings.
“Huen Ba Kao Jao Yong,” or an ancient house of Tai Lue-Tai Yong people, is another architecture that should be preserved. Its uniqueness is a pillar decorated with “Sa Ra Nai” located near the pediment. This can bemostly found at Ma Kok and Mae Reng sub-districts of Pa Sang district and also at Ton Phung sub-district. Wooden buildings such as rice barn and bathroom also have the same kind of architecture, and this reflects the way of life of Yong people in Lamphun 200 years agoLamphun since they are heritages left behind by craftsmen in the past and passed on to woodcarving villages in Mae Tha district. Besides handicrafts,Lamphun has a contemporary national artist, Inson Wongsam, and a national local-knowledge teacher, Sompol Lasakul.